หัวใจในการทำงานที่มุ่งมั่นและสร้างสรรค์ ถูกส่งต่อจากหนึ่งไปร้อยจากร้อยไปพันของคน “ธนูลักษณ์” เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าฟันอุปสรรคและปัญหา จากวันแรกจนวันนี้ที่ผ่านร้อน ผ่านหนาวมา 5 ทศวรรษอย่างมั่นคง และจะก้าวไปข้างหน้าอย่างสง่างาม
ทุกส่วนช่วยกันวางรากฐานบริษัทฯ ให้มั่นคงแข็งแรง เมื่อได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนลิขสิทธิ์เสื้อผ้าแบรนด์ ARROW ของสหรัฐอเมริกา บริษัทฯมอบหมายให้บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ดูแลด้านการขายและการตลาดในประเทศ และได้ริเริ่มให้มีผู้ให้คำแนะนำการเลือกสินค้า (AC : Arrow Consult) จัดให้มีห้องลองเสื้อ (Fitting Room) การคิดสโลแกนสินค้าชิ้นแรกของแอร์โรว์ “แอร์โรว์คือเชิ้ต เชิ้ตคือแอร์โรว์” และเลือกคุณพิชัย วาสนาส่ง เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรก พร้อมสโลแกน “แอร์โรว์ เอกลักษณ์ของเอกบุรุษ”
วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศในปี 2540 ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างมาก ภาคธุรกิจประสบภาวะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งบริษัทได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน รวมถึงยอดขายสินค้าในประเทศและส่งออกลดลง ในวิกฤตนี้ คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ได้มองเป็นโอกาส จึงได้จัดงาน “SAHA GROUP EXPORT & TRADE EXHIBITION” ขึ้นเป็นปีแรก โดยมุ่งเน้นขยายลูกค้าต่างประเทศ ด้วยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับคู่ค้าในต่างประเทศ และคุณภาพสินค้าของบริษัท ทำให้ยอดส่งออกของบริษัท ทะยานสูงขึ้นถึงร้อยละ 50 ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาได้อย่างมั่นคง
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุค 4.0 ซึ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ บริษัทฯ ร่วมมือกับพันธมิตรอุตสาหกรรมต้นน้ำในการพัฒนาวัตถุดิบ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริษัทฯ ส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยจัดประกวด Thanulux Innovation Award ตั้งแต่ปี 2550 โดยผลงานที่ได้รับคัดเลือกจะส่งเข้าประกวดในงานนวัตกรรมเครือสหพัฒน์ (Chairman Award) และผลักดันให้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตร
บริษัทฯ ร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติเพื่อขยายธุรกิจผลิตสินค้าเครื่องหนัง เสื้อผ้า และวัตถุดิบต้นน้ำ ก่อสร้างโรงงานในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา ขยายโรงงานไปที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์จังหวัดลำพูน และกบินทร์บุรี และได้รับการส่งเสริมลงทุน BOI
เข้าสู่ยุคดิจิทัลที่มีการแข่งขันทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น มีการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ และนวัตกรรมต่างๆ บริษัทจึงมุ่งเน้นงานด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยร่วมกับอุตสาหกรรมต้นน้ำในเครือ พัฒนาวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง ทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
ทุกส่วนช่วยกันวางรากฐานบริษัทฯ ให้มั่นคงแข็งแรง เมื่อได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนลิขสิทธิ์เสื้อผ้าแบรนด์ ARROW ของสหรัฐอเมริกา บริษัทฯมอบหมายให้บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ดูแลด้านการขายและการตลาดในประเทศ และได้ริเริ่มให้มีผู้ให้คำแนะนำการเลือกสินค้า (AC : Arrow Consult) จัดให้มีห้องลองเสื้อ (Fitting Room) การคิดสโลแกนสินค้าชิ้นแรกของแอร์โรว์ “แอร์โรว์คือเชิ้ต เชิ้ตคือแอร์โรว์” และเลือกคุณพิชัย วาสนาส่ง เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรก พร้อมสโลแกน “แอร์โรว์ เอกลักษณ์ของเอกบุรุษ”
บริษัทฯ ร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติเพื่อขยายธุรกิจผลิตสินค้าเครื่องหนัง เสื้อผ้า และวัตถุดิบต้นน้ำ ก่อสร้างโรงงานในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา ขยายโรงงานไปที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์จังหวัดลำพูน และกบินทร์บุรี และได้รับการส่งเสริมลงทุน BOI
วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศในปี 2540 ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างมาก ภาคธุรกิจประสบภาวะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งบริษัทได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน รวมถึงยอดขายสินค้าในประเทศและส่งออกลดลง ในวิกฤตนี้ คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ได้มองเป็นโอกาส จึงได้จัดงาน “SAHA GROUP EXPORT & TRADE EXHIBITION” ขึ้นเป็นปีแรก โดยมุ่งเน้นขยายลูกค้าต่างประเทศ ด้วยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับคู่ค้าในต่างประเทศ และคุณภาพสินค้าของบริษัท ทำให้ยอดส่งออกของบริษัท ทะยานสูงขึ้นถึงร้อยละ 50 ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาได้อย่างมั่นคง
เข้าสู่ยุคดิจิทัลที่มีการแข่งขันทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น มีการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ และนวัตกรรมต่างๆ บริษัทจึงมุ่งเน้นงานด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยร่วมกับอุตสาหกรรมต้นน้ำในเครือ พัฒนาวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง ทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุค 4.0 ซึ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ บริษัทฯ ร่วมมือกับพันธมิตรอุตสาหกรรมต้นน้ำในการพัฒนาวัตถุดิบ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริษัทฯ ส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยจัดประกวด Thanulux Innovation Award ตั้งแต่ปี 2550 โดยผลงานที่ได้รับคัดเลือกจะส่งเข้าประกวดในงานนวัตกรรมเครือสหพัฒน์ (Chairman Award) และผลักดันให้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตร
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร โดยมี บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮล์ดิ้ง จำกัด (มหาชน)
และ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) เข้ามาถือหุ้นใหญ่
จัดตั้งบริษัท ทีเอ็นแอลเอ็กซ์ จำกัด
เพื่อรองรับการจัดโครงสร้างกลุ่มธุรกิจของบริษัทฯ ในอนาคต